Angled Gradient Background

แบบรายงานผลการปฏิบัติงาน

ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

นายสดใส ใจตรง

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒

Fun 3D Classroom
3D Stylized Sparkle Emoji
3D Stylized Sparkle Emoji

คลิกเพื่อชมผลงาน

Angled Gradient Background
Chalk Style Square Frame Vector

ประวัติผู้ขอประเมิน

3D Floating Element Folder

ข้อตกลง PA และรายงาน​ผลการปฏิบัติงาน

ผลงานประเมิน PA

นายสดใส ใจตรง

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒

3D Lab Report Illustration
YouTube
Social Media On Mobile Phone 3D Icon

คณะกรรมการ PA

Angled Gradient Background

ประวัติส่วนตัวผู้รับประเมิน

  • ชื่อ-สกุล นางสาวกฤติยา พลหาญ
  • ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
  • สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด
  • สอนรายวิชา วิทยาการคำนวณ ชั้นม.2 และ ม.6
  • ครูที่ปรึกษานักเรียน ชั้นม.6/4 (สายศิลป์-เทคโน)


  • ชื่อ-สกุล นายสดใส ใจตรง
  • ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
  • สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา​กรุงเทพมหานคร เขต ๒
  • สอนรายวิชา สังคมศึกษา ม.4 พระพุทธศาสนา ม.5 และ​ประวัติศาสตร์ ม.6
  • ครูที่ปรึกษานักเรียน ชั้น ม.5/5


Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background
3D Floating Element Folder

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

3D Book

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 18 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

รายวิชา ประวัติศาสตร์ จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา สังคมศึกษา จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา พระพุทธศาสนา จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมสังคมและสาธารณประโยชน์ จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมชุมนุมครอบครัวพอเพียง จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

PDF File Format
PDF File Format
Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background
3D School Elements Composition Books Toga and Clock

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย ในการพัฒนาผลลัพธ์​การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การแก้ปัญหาการขาดทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ (critical thinking) รายวิชาพระพุทธศาสนา ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (อริยสัจ 4) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามกระบวนการพัฒนา การคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps

สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนาที่ผ่านมา พบว่าผู้เรียนขาดทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ (critical thinking) และไม่สามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้ผู้เรียนยังไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้นเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ (critical thinking) ผู้สอนจึงใช้กระบวนเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนจึงต้องมีเป้าหมายในการเรียนรู้ และรู้จักค้นหาแนวทางที่จะนำไปสู่โครงสร้างความรู้ที่มีความหมาย สอดคล้องกับข้อมูลเดิมที่มีอยู่ โดยอาศัยหลักของการสร้างความรู้ (Construction of Knowledge) ซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะสร้างความรู้ได้ จากการเชื่อมโยงข้อมูลใหม่เข้ากับความรู้เดิมอย่างมีความหมาย ซึ่งการที่จะดำเนินการได้เช่นนั้น ผู้เรียนจะต้องมีเครื่องมือที่เป็นระบบความคิดที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS) คือ เครื่องมือชีวิตหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาไปถึงจุดนั้นได้อย่างเหมาะสม ครูผู้สอนจึงได้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าท้าย เรื่อง การแก้ปัญหาการขาดทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ (critical thinking) รายวิชาพระพุทธศาสนา ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (อริยสัจ 4) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามกระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps

Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

คลิปการสอน รายวิชาพระพุทธศาสนา

3D School Elements Composition Books Toga and Clock
Textured Monoline New Year Fireworks & Frame Borders Corner
male teacher writing on the blackboard 3d character illustration
Textured Monoline New Year Fireworks & Frame Borders Corner
Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

3D School Elements Composition Books Toga and Clock

::: ลักษณะงาน :::

  • ข้าพเจ้าปฏิบัติและนำเสนอครอบคลุม ถึง การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตรการออกแบบการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ การวัดและการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ การศึกษา การวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน และการอบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

3D School Elements Composition Books Toga and Clock

::: 1.1 สร้างและพัฒนาหลักสูตร :::

  • ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมทบทวนหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรกลุ่มสาระ ​การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา 2567
  • ข้าพเจ้าได้จัดทำหลักสูตรรายวิชาพระพุทธศาสนา และวิเคราะห์หลักสูตร ​มาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้และนำไปจัดทำรายวิชาพระพุทธศาสนา ​โดยการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน และท้องถิ่น
  • ข้าพเจ้าได้จัดทำหน่วยการเรียนรู้ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (อริยสัจ 4) ​ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ ตาม​หลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณสูงขึ้น และผู้เรียนได้​พัฒนาสมรรถนะ และการเรียนรู้ เต็มตามศักยภาพ โดยมีการปรับประยุกต์ให้​สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน และท้องถิ่น

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

3D School Elements Composition Books Toga and Clock

::: 1.2 การออกแบบการจัดการเรียนรู้ :::

  • ข้าพเจ้าได้สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ ​ผู้เรียนมีทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ มีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ​ประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะที่สำคัญตาม​หลักสูตร โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้อง กับบริบทของสถาน​ศึกษา ผู้เรียน และท้องถิ่น และใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Active ​Learning ตามกระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 ​Steps โดยเน้นทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ และสามารถนำหลักธรรม​ทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

3D School Elements Composition Books Toga and Clock

::: 1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ :::

  • ข้าพเจ้าได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ตาม​กระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ซึ่งเป็นวิธีเรียนรู้ (How to Learn) ​ที่ผู้เรียนสามารถนำไปเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ผ่านการรวบรวมข้อมูล (Gathering) การจัด​ข้อมูลให้เกิดความหมายผ่านการคิดวิเคราะห์ เพิ่มคุณค่า คุณธรรม ค่านิยม ออกแบบ​สร้างสรรค์ สร้างทางเลือก ตัดสินใจเลือกเป้าหมายแนวทางที่นำไปสู่ความสำเร็จ ​(Processing) วางแผน ลงมือทำ ตรวจสอบแก้ปัญหา พัฒนาไปสู่ระดับนวัตกรรม (Applying ​1) โดยผู้เรียนสามารถสรุปเป็นความรู้ระดับต่าง ๆ จนถึงระดับหลักการ สามารถนำเสนอได้​อย่างมีแบบแผน (Applying 2) และประเมินภาพรวมเพื่อกำกับความคิดและขยายค่านิยมสู่​สังคมและสิ่งแวดล้อมให้กว้างขวางขึ้น (Self-Regulating) ซึ่งการเรียนรู้ในลักษณะนี้ ​สามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน และทางออนไลน์ เพื่อเข้ากับบริบทของ​ผู้เรียนอย่างเหมาะสม ตามแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา
  • ข้าพเจ้าได้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และส่งเสริม ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ ​เรียนรู้และทำงานร่วมกัน โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียน ​และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ และเห็นคุณค่าความสำคัญของหลักธรรม​ทางพระพุทธศาสนา

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

3D School Elements Composition Books Toga and Clock

::: 1.4 สร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม ​เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ :::

  • ข้าพเจ้าได้สร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและ แหล่งเรียน​รู้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ โดยมีการปรับประยุกต์ ให้สอดคล้อง​กับความแตกต่างของผู้เรียน และทำให้ผู้เรียน มีทักษะการคิดและสามารถ​สร้างนวัตกรรมได้
  • ข้าพเจ้าได้สร้างเอกสารประกอบการเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง ​หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
  • ข้าพเจ้าได้สร้างสื่อ Power Point เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ​(อริยสัจ 4)
  • ข้าพเจ้าได้ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามกระบวนการเรียนรู้​แบบActive Learning ตามกระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ ​GPAS 5 Steps

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

3D School Elements Composition Books Toga and Clock

::: 1.5 การวัดและประเมินผล :::

  • ข้าพเจ้าได้สร้างแบบวัดและประเมินผลตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ด้วยวิธีที่หลาก​หลายเหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรฐาน การเรียนรู้ ให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้​อย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาผู้เรียนตามสภาพจริงและวัดการคิดวิเคราะห์ เพื่อแก้​ปัญหาผู้เรียนที่ยังขาดทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ พิจารณาจาก

1) แบบทดสอบก่อน-หลังเรียนเมื่อผู้เรียนเรียนรู้จบหน่วยการเรียนรู้

2) แบบฝึกหัดในเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

3) แบบประเมินชิ้นงาน “สตอรี่บอร์ด” เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ​(อริยสัจ 4) ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริงได้

4) แบบสังเกตพฤติกรรม กระบวนการและทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณของผู้​เรียน

5) แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

3D School Elements Composition Books Toga and Clock

::: 1.6 ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้​ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ :::

  • ข้าพเจ้าได้ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการ​จัดการเรียนรู้ที่เน้นพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ เพื่อแก้ปัญหา ​หรือพัฒนาการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน และศึกษางานวิจัยที่​เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ที่​ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ดังนี้

1) ทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ

2) กระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps

  • ข้าพเจ้าได้นำข้อมูลการศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ผลการวิจัยมาใช้ใน​การจัดการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง หลักธรรมทาง พระพุทธ​ศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

3D School Elements Composition Books Toga and Clock

::: 1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน :::

  • มีการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดกระบวนการคิด ทักษะชีวิต ทักษะ​การทำงาน ทักษะการเรียนรู้ และ ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ให้​เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนและลักษะของผู้เรียน ดังนี้

1) เร้าความสนใจด้วย สื่อการสอน ที่นำนวัตกรรม เทคโนโลยี ที่ทันสมัย เข้ามาใช้ใน​การจัดการชั้นเรียน

2) ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสนำเสนอความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ โดยผู้​เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นแก่นความรู้ได้อย่างแท้จริง

3) เชื่อมโยงหลักธรรมทาง พระพุทธศาสนากับชีวิตจริงในการดำรงชีวิตของผู้เรียน ​โดยให้ผู้เรียนได้สร้างสตอรี่บอร์ด เรื่องสั้น ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง โดยผู้เรียนช่วยกันนำเสนอ​ด้วยการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (อริยสัจ 4)

4) ใช้สื่อการเรียนการสอน คือ เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง หลักธรรมทาง​พระพุทธศาสนา

5) ใช้รูปแบบการสอนด้วยกระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

3D School Elements Composition Books Toga and Clock

::: 1.8 อบรมและพัฒนาคุณลักษณะ ​ที่ดีของผู้เรียน :::

  • ผู้เรียนได้รับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอัน​พึงประสงค์ และค่านิยมความเป็นไทยที่ดีงาม โดยการปลูก​ฝังผู้เรียนมีความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ ใฝ่เรียนรู้ มี​วินัย และมุ่งมั่นในการทำงาน

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

Pencil Cup 3D Illustration

::: ลักษณะงาน :::

  • ข้าพเจ้าปฏิบัติและนำเสนอครอบคลุมถึง สารสนเทศของ ​ผู้เรียน และรายวิชาที่ครูสอนให้ผู้เรียนและผู้ปกครองสามารถ​เข้าถึงสารสนเทศได้ รวมถึงการแก้ไขปัญหาผู้เรียนให้มีความ​พร้อมและมีศักยภาพเพียงพอในการพัฒนาได้ เช่น การ​เยี่ยมบ้านนักเรียน คัดกรองนักเรียนยากจน การวิเคราะห์ ​ผู้เรียนรายบุคคล การประเมิน SDQ ทะเบียนแสดงผลการ​เรียน ระบบดูแลและช่วยเหลือนักเรียนโดยโปรแกรม My ​School เพื่อใช้สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

Pencil Cup 3D Illustration

::: 2.1 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและ​รายวิชา :::

  • ข้าพเจ้าได้สรุปสารสนเทศผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์โดยใช้ข้อมูลจาก​แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน แบบฝึกหัด ชิ้นงาน และการทำ​กิจกรรม เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สรุปเป็นตาราง​และแผนภูมิต่าง ๆ และ สรุปสารสนเทศของผู้เรียนที่ไม่ผ่าน​เกณฑ์เพื่อแจ้งผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาจนกว่าผู้เรียนจะผ่าน​เกณฑ์

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

Pencil Cup 3D Illustration

::: 2.2 ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้​เรียน :::

  • ข้าพเจ้าใช้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนรายบุคคล และประสาน ​ความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนา และแก้ปัญหาผู้เรียน

- มีการวิเคราะห์ผู้เรียน โดยใช้ผลการเรียนจากภาคเรียนที่ 1/2566 ​ในรายวิชาพระพุทธศาสนา

- หลังพบผู้เรียนที่ขาดทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ หลักธรรมทาง​พระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จึงได้จัดกิจกรรม​การเรียนรู้ด้วยกระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 ​Steps ในรายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ​(อริยสัจ 4) เพื่อพัฒนา และแก้ปัญหาผู้เรียนให้มีทักษะการคิดเชิง​วิจารณญาณที่สูงขึ้นตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษา

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

Pencil Cup 3D Illustration

::: 2.3 ปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่นๆ ของ​สถานศึกษา :::

  • ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมปฏิบัติงานทางวิชาการ และงานอื่น ๆ ของ​สถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของ​สถานศึกษา

- งานวัดและประเมินผลกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ​ศาสนา และวัฒนธรรม

- หัวหน้างานขับเคลื่อนงานเศรษฐกิจพอเพียงและงาน​ตามนโยบาย

- งานวิทยฐานะ กลุ่มบริหารงานบุคคล

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

Pencil Cup 3D Illustration

::: 2.4 ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ​ภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ :::

  • ข้าพเจ้าได้แจ้งปัญหาผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ให้ผู้ปกครอง​ทราบผ่านครูที่ปรึกษา โดยการแจ้งให้ผู้ปกครองทราบถึง​การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหาการขาดทักษะการ​คิดเชิงวิจารณญาณ ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา​พระพุทธศาสนา เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยใช้​กระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ​เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนให้ผ่านเกณฑ์ตามค่าเป้าหมายของ​สถานศึกษา

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

Pencil Cup 3D Illustration

::: ลักษณะงาน :::

  • ข้าพเจ้าปฏิบัติและนำเสนอครอบคลุมถึงการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้และนำความรู้ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ใน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และพัฒนาเทคโนโลยี สื่อ นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

Pencil Cup 3D Illustration

::: 3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง :::

  • ข้าพเจ้าเข้ารับการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ​ร่วมถึงการเป็นวิทยากร เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ ​โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทย และภาษาอังกฤษเพื่อการ​สื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการศึกษา สมรรถนะ​วิชาชีพครูและความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาและวิธีการสอน
  • ข้าพเจ้าเข้ารับอบรมหรือศึกษาการกระบวนการจัดการเรียนการ​สอนที่สร้างทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณของผู้เรียน
  • ข้าพเจ้าเข้ารับอบรมหรือศึกษากระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูง​เชิงระบบ GPAS 5 Steps

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

Pencil Cup 3D Illustration

::: 3.2 มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทาง​วิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ :::

  • ข้าพเจ้าได้สร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการแก้​ปัญหาการขาดทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ ด้วยชุดกิจกรรม​การเรียนรู้ เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยใช้​กระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ​เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้.ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล​มากที่สุด

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

Pencil Cup 3D Illustration

::: 3.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนา​ตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ​การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนานวัตกรรม ​การจัดการเรียนรู้ :::

  • ข้าพเจ้านำผลจากการอบรมพัฒนาตนเองและการเข้าร่วมชุมชนการเรียน​รู้ทางวิชาชีพ (PLC) ไปใช้สร้างสื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้​กระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps เพื่อนำมาใช้ใน​การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน หรือแก้ไขปัญหาของผู้เรียนที่ขาดทักษะการ​คิดเชิงวิจารณญาณ ในการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการ​ดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ส่วนที่ 2

ประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

Pencil Cup 3D Illustration

::: ประเด็นท้าทาย :::

  • การแก้ปัญหาการขาดทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ ​(critical thinking) รายวิชาพระพุทธศาสนา ด้วยชุด​กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธ​ศาสนา (อริยสัจ 4) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ​โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ตาม​กระบวนการพัฒนา การคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 ​Steps

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background
Buildable Storybook Classroom Stack of Books and Apple

วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

  • 2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ ​สิงหเสนี) ๒ ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2566 ในเรื่องของมาตรฐานการเรียน และตัวชี้วัด เนื้อหารายวิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
  • 2.2 ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ ​Active Learning ตามกระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps
  • 2.3 เปิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาการขาดทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ (critical thinking) รายวิชาพระพุทธศาสนา โดย​ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และการเข้าไปสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน เพื่อช่วยกันตรวจสอบความถูก​ต้องในเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบฝึกหัด พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะและสะท้อนผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อนำ​มาปรับปรุง แก้ไข ให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ (critical thinking) ให้เหมาะสมกับบริบทของห้องเรียน ผู้เรียน โรงเรียน และสามารถนำไป​ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้
  • 2.4 ครูผู้สอนนำกิจกรรมมาปรับปรุง แก้ไข ตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อให้เหมาะสมกับ​บริบทของห้องเรียน ผู้เรียน โรงเรียน และผู้เรียนมีทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ (critical thinking) สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้
  • 2.5 ครูผู้สอนสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เอกสารประกอบการเรียน แบบทดสอบ แบบฝึกหัด แบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรม และเครื่องมือวัดประเมิน​ผล โดยตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ และปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญในรายวิชาพระพุทธศาสนา


Teacher in the Classroom with Students
Female Teacher Teaching Math to Sitting Students
Happy teacher and students illustration
Female Teacher and Diverse Students
Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background
Buildable Storybook Classroom Stack of Books and Apple

วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล (ต่อ)

  • 2.6 นำแบบทดสอบ และกิจกรรมที่ออกแบบใช้กับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ที่เคยเรียนเนื้อหา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อปรับปรุงแบบ​ทดสอบอีกครั้ง เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของห้องเรียน ผู้เรียน โรงเรียน และผู้เรียนมีทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ (critical thinking) สามารถนำไปใช้ใน​การดำรงชีวิตประจำวันได้
  • 2.7 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (อริยสัจ 4) รายวิชาพระพุทธศาสนา กับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในรูปแบบ ONSITE ​โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของห้องเรียน ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ผ่านการศึกษาสถานการณ์ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือคลิปวิดีทัศน์​ตัวอย่างที่สะท้อนถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการดำเนินชีวิต เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ (critical thinking) ในการใช้หลัก​ธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับการดำรงชีวิตประจำวัน ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามกระบวนการพัฒนาการ​คิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ดังนี้ (1) การแสวงหาข้อมูล รวบรวมข้อมูล และเลือกข้อมูล (GATHERING) (2) การจัดกระทำข้อมูล หรือการจัดข้อมูลให้​เป็นระบบ (PROCESSING) (3) การประยุกต์ใช้ความรู้ และสรุปความรู้ APPLYING 1 (Applying and Constructingthe Knowledge) (4) การสื่อสารและนำ​เสนอ APPLYING 2 (Applying and Communication Skill) (5) การกำกับตนเอง หรือ การเรียนรู้ได้เอง (SELF–REGULATING)
  • 2.8 บันทึกผลการเรียนรู้ของสรุปสารสนเทศของผู้เรียน แล้วแจ้งให้ผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทราบ และได้รับการพัฒนาจนกว่าผู้เรียนจะผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด
  • 2.9 สอบถามความพึงพอใจของนักเรียน และผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นกว่าเดิม



Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

3.1 เชิงปริมาณ

ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 ห้อง รวมจำนวนผู้เรียนทั้งหมด 235 คน ได้รับการแก้ปัญหาการด้านทักษะการคิดเชิง​วิจารณญาณ (critical thinking) ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามกระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 ​Steps ในรายวิชาพระพุทธศาสนา รหัสวิชา ส 32103 ดังนี้

1) แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (อริยสัจ 4) ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของผู้เรียนทั้งหมด

2) แบบฝึกหัด เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (อริยสัจ 4) ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของผู้เรียนทั้งหมด

3) แบบฝึกทักษะ สตอรี่บอร์ด เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (อริยสัจ 4) ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของผู้เรียน​ทั้งหมด

4) ผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ได้รับการซ่อมเสริม และปรับปรุงผลการเรียนให้ดีขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์




Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

3.2 เชิงคุณภาพ

ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 ห้อง รวมจำนวนผู้เรียนทั้งหมด 235 คน มีทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ ​(critical thinking) สูงขึ้นเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดไว้ และผู้เรียนสามารถปรับประยุกต์ใช้หลักธรรมทาง​พระพุทธศาสนา (อริยสัจ 4) ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ นอกจากผู้เรียนยังมีการเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ตาม​กระบวนการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามกระบวนการพัฒนาการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ​และผู้เรียนได้รับการจัดการเรียนจากครู้ผู้สอนที่นำองค์ความรู้ที่ได้พัฒนาตนเอง และการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรูทางวิชาชีพ ​(PLC) มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ พัฒนานักเรียนให้เต็มตามศักยภาพ เหมาะสมตามวัยและลักษณะของผู้เรียน



Blue round 3D arrow top icon
Angled Gradient Background

กราบขอบพระคุณ

ท่านกรรมการทุกท่านเป็นอย่างสูง

นายกรวิทย์ เลิศศิริ​โชติ

ผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒

นางสาวสุภาพร เสียมสกุล

ครุชำนาญการพิเศษ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย

นางณัฐภรณ์ เจนจิ​ตร

ครุชำนาญการพิเศษ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ​๒

Blue round 3D arrow top icon